คลังบทความของบล็อก

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 10250

ที่มาของการไหว้



การไหว้   เป็นมารยาทไทยที่เป็นสืบทอดกันมาช้านาน การไหว้เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความหมายเพื่อการทักทาย การขอบคุณ การขอโทษ หรือการกล่าวลา โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ
คำที่มักกล่าวเมื่อไหว้ทักทายหรือลาคือ "สวัสดี" มาจากคำ "สฺวสฺติ" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความดีงาม ความเจริญรุ่งเรือง หรือความปลอดภัย พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ริเริ่มใช้ มีความหมายเชิงอำนวยพรให้เจริญรุ่งเรือง


การไหว้เดิมนั้นมาจากการทักทายตามแบบโบราณ ซึ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นว่าผู้ทักทายทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่มี





อาวุธทั้งสิ้น ซึ่งการไหว้มีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสถานะทางสังคม เพศและวัย ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งนั้นกล่าวว่า การไหว้นั้นมาจากพุทธศาสนา ซึ่งมาจากการกราบพระสงฆ์สามครั้ง




วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การไหว้ 3ระดับ

การปฏิบัติในท่าไหว้ประกอบด้วยกิริยา ๒ ส่วน คือ การประนมมือและการไหว้
การประนมมือ (อัญชลี) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือให้นิ้วมือทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือทั้งสองประกบเสมอกันแนบหว่างอก ปลายนิ้วเฉียงขึ้นพอประมาณ แขนแนบตัวไม่กางศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือนี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา ขณะสนทนากับพระสงฆ์ รับพรจากผู้ใหญ่ แสดงความเคารพผู้เสมอกัน และรับความเคารพจากผู้อ่อนอาวุโสกว่า เป็นต้น
การไหว้ (วันทนา) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือแล้วยกมือทั้งสองขึ้นจรดใบหน้าให้เห็นว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง การไหว้แบบไทย แบ่งออกเป็น ๓ แบบ ตามระดับของบุคคล

    ระดับที่ ๑ การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วแนบส่วนบนของหน้าผาก

ที่มาของรูป :มารยาทชาวพุทธ


ระดับที่ ๒ การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว

ที่มาของรูป :มารยาทชาวพุทธ

ระดับที่ ๓ การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโสสูงกว่าเล็กน้อย โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูก
ที่มาของรูป :มารยาทชาวพุทธ




VDO ตัวอย่างประกอบ



การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์

การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์



การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์


                     การกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุด ต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด ซึ่งก็คือพระนั่นเอง เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ห้า โดย เบญจ ซึ่งแปลว่า ๕ นั้น หมายถึง อวัยวะทั้ง ๕ อันได้แก่ หน้าผาก มือทั้งสอง และเข่าทั้งสอง โดยอวัยวะที่ว่านั้น เวลากราบจะต้องจรดลงให้ติดกับพื้น ซึ่งท่านี้จะปฏิบัติแตกต่างกันใน หญิง และ ชาย


 การกราบแบญจางคประดิษฐ์
 ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง
 การที่ให้อวัยวะทั้ง 5 คือ เข่าทั้ง 2 มือทั้ง 2 และหน้าผากจรดพื้น การกราบจะมี 3 จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ

ท่าเตรียมกราบ
สำหรับชายนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้
                       ท่าเตรียม ท่าเตรียมของชายนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพบุตร 
                       ท่าเทพบุตร นั่ง คุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้า ไม่นั่งบนเท้า แบบนั่งญี่ปุ่นนะครับ มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ส้นเท้าไม่แบะออก
                       จังหวะที่ ๑อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก
                       จังหวะที่ ๒ วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง
                       จังหวะที่ ๓ อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างต่อเข่า ขนานไปกับพื้น หลังไม่โก่ง หรือ ก้นไม่โด่งจนเกินงาม
การกราบจะกราบ ๓ ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง
                        สำหรับหญิงนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้
                      ท่าเตรียม ท่าเตรียมของหญิงนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพธิดา
                      ท่าเทพธิดา นั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ปลายเท้าไม่แบะออก
                      จังหวะที่ ๑อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก
                      จังหวะที่ ๒ วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง
                      จังหวะที่ ๓ อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อย พอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย
การกราบจะกราบ ๓ ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง                                 

                                         การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์  แบบ  ผู้ชาย

อ้างอิงรูปภาพ :
 
http://saranyakondee.blogspot.com/2012/02/blog-post_04.html

                                                                     การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์  แบบ  ผู้หญิง

อ้างอิงรูปภาพ :
 
http://saranyakondee.blogspot.com/2012/02/blog-post_04.html

การกราบผู้ใหญ่



การกราบผู้ใหญ่ใช้กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส รวมทั้งผู้มีพระ คุณได้แก่ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่เรา เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชาย และหญิงนั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลง พร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้าน ล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลงให้หน้า ผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบ ไม่ควรกระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นรับหน้าผาก



สาเหตุเเละเหตุการณ์ที่คนต้องไหว้

 เพราะความเลื่อมใส
• ไหว้เพราะความกลัว
• ไหว้เพราะสำนึกผิด
• ไหว้เพราะสำนึกคุณ หรือแสดงวัฒนธรรม
 ไหว้เพื่อแสดงความเคราพ 

สรุปผลของการไหว้
1.ผู้ไหว้ได้รับความสบายใจ
2.ได้รับความเมตตาจากผู้ถูกไหว้

3.ช่วยให้ผู้ถูกไหว้พัฒนาตนเอง 

ข้อควรระวังในการไหว้

  ข้อสำคัญที่ควรคำนึงสังวรระวังก็มีว่า อย่าไหว้ อย่าแสดงการบูชา สักแต่ว่าเป็นพิธี เป็นกิริยาเฉพาะช่วงที่ทำพิธีเท่านั้น ควรจะให้การไหว้ออกจากน้ำใจอันแท้จริง ในหลักธรรมตามมงคลสูตร อนุโลมเข้ากับการไหว้ได้แก่ การยกย่องเทิดทูนคุณความดี เรียกว่า บูชา การตระหนักถึงความสำคัญของท่าน เรียกว่า คารวะ การระลึกถึงอุปการคุณของท่านเรียกว่า กตัญญู เหล่านี้ล้วนเป็นแต่แรงบันดาลให้มีการไหว้ทั้งนั้น

การรับไหว้

      มื่อมีผู้ทำความเคารพให้แก่เรา ควรรับไหว้ คือเคารพตอบเพื่อมิไห้เสียมารยาท หรือทำให้ผู้แสดงความเคารพต้องกระดากใจ หรือโกรธจนเป็นเหตุให้นึกไม่อยากจะเคารพต่อไปได้ วิธีรับไหว้ ยกมือทั้งสองประนมไว้ระดับอก แล้วยกขึ้นให้สูงมากหรือน้อยตามฐานะของผู้ไหว้ และของผู้รับไหว้




ผู้จัดทำ


                                          ชื่อ : นางสาว ชนานุช ขันตรีจิตร ชื่อเล่น : พลอย
                                    วันเกิด : 2 มกราคม พ.ศ. 2537 อายุ : 19 ปี กรุ๊ปเลือด : O
                          ศึกษาอยู่ที่ : มหาวิทยาลัย ศรีปทุม บางเขน คณะ : เทคโนโลยีสารสนเทศ 
                สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   ชั้นปีที่ 2   รหัสนักศึกษา : 55022856